ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ข้อมูลทั่วไป
           โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน  เป็นโรงเรียนที่สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด มี นางสุวิชชา  ตรีนาจ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ นายจักรกฤษณ์ ถินคำเชิด ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
           โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน ตั้งอยู่เลขที่  ๓๑๗/๒  ถนนเทวาภิบาล  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ ๐๔๓-๕๑๑๕๗๗  สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จัดการเรียนการสอน  ในระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีเนื้อที่ ๔ ไร่  ๑ งาน ๒๘ ตารางวา
           ประวัติความเป็นมาโรงเรียน(โดยสังเขป)
               โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน  เป็นโรงเรียนของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ที่จัดตั้งขึ้นลำดับที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพราะผู้ปกครองนักเรียนชาวคุ้มวัดเวฬุวัน  ต้องส่งบุตรหลานไปเรียนที่ห่างไกล  เสี่ยงอันตรายจากการคมนาคม เมื่อโรงเรียนชุมชนหนองหญ้าม้าได้รับงบประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ บาท  (หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม คณะผู้บริหารเทศบาลในขณะนั้น ซึ่ง   นายธงชัย เกษมทรัพย์ เป็นนายกเทศมนตรี นางสมพิศ ทรัพย์ศิริ เป็นเทศมนตรี ฝ่ายการศึกษา เห็นความเดือดร้อนของประชาชน ชาวคุ้มวัดเวฬุวัน  ที่ต้องส่งลูกหลานไปเรียนที่ห่างไกล ประกอบกับคุ้ม วัดเวฬุวัน  เป็นคุ้มใหญ่ที่มีประชากรมากพอที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นประจำคุ้มเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนให้กับผู้ปกครองนักเรียน จึงตัดโอนงบประมาณของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองหญ้าม้า ซึ่งขณะนั้นมีอาคารเรียนพอเพียงอยู่แล้ว  เทศบาลจึงก่อสร้างโรงเรียนในบริเวณวัดเวฬุวัน ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์ที่ดินจาก พระครูวิจิตรธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวันและทายกทายิกา ตลอดจนประชาชน  ชาวคุ้ม โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน”
 
ที่ตั้งและขนาด
           โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวันอยู่บริเวณวัดเวฬุวัน  ถนนเทวาภิบาล  ห่างจากสำนักงาน  เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 28 ตารางวา
 
สภาพชุมชน
           โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ประชากรหนาแน่น เศรษฐกิจไม่เพียงพอกับรายจ่ายเป็นสังคมกึ่งชนบท  มีประเพณีที่สำคัญของชาวคุ้มตั้งขึ้นโดยทางราชการ เช่น  งานประเพณี  บุญผะเหวด ประเพณีแห่เทียนพรรษา  งานกวนข้าวทิพย์  ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ  การศึกษา  ของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง